มาดูกันว่า Pok'e Ball ทำงานอย่างไร ข้อมูลเจาะลึกที่โปเกม่อนเทรนเนอร์ควรรู้

จากกระแสโปเกม่อนโก ที่บ้านเรา คนเริ่มเบื่อปั่นเสากันไปบ้างแล้ว หรือบางคนก็ยังเล่นอยู่ แต่แอดมินเพิ่งจะเริ่มเล่น ฮ่าๆ เอาเถอะๆ เพราะบล็อกนี้เราไม่ได้มาพูดถึงเรื่องเกมครับ แต่จะมาไขความลับส่วนประกอบสำคัญของซีรี่ส์โปเกม่อนกัน

เคยสงสัยกันไหม ? Pok'e Ball ทำงานยังไง ?

เป็นคำถามที่คาใจแอดมินมานาน บล็อกนี้มาหาคำตอบกัน ให้รู้กันไปเลยว่าโปเกม่อนเข้าไปอยู่ในบอลเล็กๆแบบนั้นได้ยังไง กลไกของสิ่งประดิษฐ์นี้ซับซ้อนแค่ไหน ประวัติต่างๆ รวมไปถึงมีความลับอะไรซ่อนอยู่บ้างเกี่ยวกับเจ้าบอลนี้ บอกเลยเทรนเนอร์ทั้งหลายห้ามพลาด

ข้อมูลที่จะกล่าวถึงแอดมินจะอ้างอิงจากอนิเมะเป็นหลัก เพราะในหนังสือการ์ตูนมันจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างจากอนิเมะพอสมควร เอาล่ะ มาเริ่มกันเลยดีกว่า




ประวัติคร่าวๆของ Pok'e Ball

จากการสำรวจ Pok'emopolis (ซากปรักหักพังของอารยธรรมโบราณ) ของ Dr.Eva เธอได้ค้นพบกับสิ่งที่คล้ายกับโปเกบอลในสุสานของราชา Pok'elantis นี่แสดงให้เห็นว่ามีการจับโปเกม่อน โดยใช้โปเกบอลมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้มีข่าวลือว่าโปเกบอลที่ค้นพบเป็นโปเกบอลที่ใช้จับ "โฮโอ" โปเกม่อนในตำนานอีกด้วย


วัตถุโบราณที่มีรูปร่างคล้ายโปเกบอลสมัยนี้มาก

โฮโอ หนึ่งในโปเกม่อนในตำนาน


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Pok'e Ball

  • เริ่มแรกการสร้างโปเกบอลเกิดขึ้นที่ภูมิภาค Johto ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ผล Apricorn เติบโต บอลแต่ละชนิด ถูกสร้างจากผล Apricorn ที่แตกต่างกันไป เป็นงานแฮนด์เมดที่บอลจะมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆกัน
  • ต่อมาเนื่องจากการจับโปเกม่อนได้รับความนิยม จึงมีการสร้างโปเกบอลที่ผลิตจากโรงงาน ทำด้วยโลหะ ที่เราเห็นจนคุ้นตาก็บอลแดงนั่นแหละฮะ
  • ในปัจจุบันมีโปเกบอลมากถึง 26 ชนิดแล้ว



Pok'e Ball ทำงานอย่างไร

คอนเซ็ปการทำงานของของโปเกบอลคือ เมื่อบอลกระทบกับโปเกม่อน บอลจะเปิดออกและเปลี่ยนโปเกม่อนให้กลายเป็นพลังงาน หรือแสงสีแดงที่เราเห็นกันในอนิเมะ พลังงานนั้นจะถูกดึงเข้ามาในแกนกลางของบอล ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการจับโปเกม่อน มีอยู่สองอย่างคือ
  • ความสามารถของบอล อย่างที่รู้ว่า บอลที่เราใช้มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นบอลที่ดีจะสามารถควบคุมพลังงานของตัวโปเกม่อนได้ดี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของบอล และความเข้ากันได้กับโปเกม่อนด้วย
  • สภาพของโปเกม่อน เมื่อโปเกม่อนเปลี่ยนรูปแบบจากกายหยาบไปเป็นพลังงาน พลังงานนั้นจะมีสภาวะเช่นเดียวกับตอนที่เป็นกายหยาบ อธิบายง่ายๆคือ ถ้าโปเกม่อนมีสภาพสมบูรณ์ ตอนที่เราจับและเปลี่ยนมันเป็นพลังงาน โปเกบอลของเราจะควบคุมพลังงานนั้นได้ยาก แต่หากโปเกม่อนเหนื่อยล้าจากการต่อสู้ หรือฝึกให้เชื่องก่อน แล้วจึงค่อยจับ โปเกบอลก็จะควบคุมพลังงานนั้นได้ง่าย

หากบอลไม่สามารถควบคุมพลังงานนั้นได้ พลังงานจะขยายตัวขึ้น ทำให้บอลพัง และเปลี่ยนรูปร่างจากพลังงานให้กลายเป็นกายหยาบเหมือนเดิม นี่เป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถนำโปเกบอลที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ได้อีก

ในทางกลับกันหากเราจับโปเกม่อนได้ บอลนั้นจะสร้างความคุ้นเคยให้กับโปเกม่อน ทำให้ครั้งต่อไปเราสามารถเรียกโปเกม่อนตัวที่เคยจับ กลับเข้ามาในบอลได้ง่าย

อันนี้แถม คือ เราไม่สามารถจับโปเกม่อนที่สลบอยู่ได้ เนื่องจากมันจะไม่เปลี่ยนจากกายหยาบเป็นพลังงาน นอกจากว่าโปเกม่อนตัวนั้นเราเคยจับมาแล้ว



ทีนี้ก็พอจะเข้าใจเรื่องกลไกคร่าวๆของโปเกบอลแล้ว คือ ภายในลูกบอลจะกักเก็บโปเกม่อนในรูปแบบพลังงาน ทีนี้ก็พอจะอธิบายได้แล้วว่า โปเกม่อนตัวใหญ่ๆ เข้าไปอยู่ในบอลขนาดเล็กได้อย่างไร

หลายคนที่ยังคาใจเรื่องการเปลี่ยนรูปแบบสสารของโปเกม่อน แนะนำให้ไปดู The Movie ตอน Lucario and the Mystery of Mew น่าจะเข้าใจมากขึ้น หรือไม่ก็ดูคลิปที่แอดมินแปะไว้ด้านล่างก็ได้ ว่าจริงๆแล้วโปเกม่อนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร



อ่านเพิ่มเติม

http://bulbapedia.bulbagarden.net/wiki/Aura
http://bulbapedia.bulbagarden.net/wiki/Pok%C3%A9_Ball
http://scienceofpokemon.tumblr.com/post/21789511299/pokeballs
http://pokemondb.net/pokebase/214836/how-do-pokeballs-work

Popular posts from this blog

วิธีตรวจสอบข้อมูลภาษีของตัวเอง รายได้ทั้งปี และค่าลดหย่อน จบครบที่เดียว

วิธีสร้างแรงบันดาลใจ TED Talks คืออะไร ? และทำไมคุณควรต้องดู ?

"yes" "yeah" "yep" เหมือนและต่างกันอย่างไร ?

ฝากโค๊ด Online ด้วย Pastebin กันเถอะครับ !!

รีวิว Dentiste Mastic Mint Bomb เม็ดอมที่ไม่ได้มีดีแค่ความสดชื่น